Pcb Design

รับออกแบบวงจรจากรูปเพียงคุณมีแค่ Idea ,Concept ,Schematic หรือ Drawing อย่างใดอย่างหนึ่งเราก็สามารถออกแบบให้คุณได้

“เพราะเราเป็นผู้เชี่ยวชาญทางด้านอิเล็กทรอนิกส์, วงจรไฟฟ้า ตั้งแต่ 1-28 layer ด้วยประสบการณ์ของเราจะทำให้คุณรู้สึกว่า เราเข้าใจในสิ่งที่คุณต้องการ สามารถตอบสนองความต้องการที่คุณมีด้วยเวลาอันรวดเร็ว ประหยัดเวลา อีกทั้งยังมั่นใจได้ว่าวงจรที่ได้รับมีคุณภาพ ตามระดับมาตรฐานสากลอย่างแน่นอน 100% ”

ตัวอย่างที่ 1

Interface Board
รูปภาพตัวอย่างระหว่างงานต้นแบบของลูกค้าและผลงานการออกแบบของเรา

งานต้นแบบของลูกค้า ใช้งานได้แต่มีสัญญาณรบกวน เราช่วยแก้ไขปัญหาให้กับลูกค้าโดยการออกแบบให้ใหม่ โดยออกแบบตามหลักทฤษฎี ภายใต้ Circuit และการใช้งานเดิม ผลการตอบรับจากลูกค้า คือ ใช้งานได้อย่างสมบูรณ์

ตัวอย่างที่ 2 ผลงงานการออกแบบ PCB 10 Layer

Micro Computer
Expansion Board
บอร์ด Tester
Line Driver Board
IOT Board
Electronic Control Board
รับออกแบบ PCB
รับทำ PCB
PCB Design Prototype
แผ่นปริ้นท์

 

 

 


 

ตัวอย่างที่ 3

รับซ่อม
งานต้นแบบของลูกค้า

Driver Board
ผลงานการออกแบบ PCB

 

ทางเราได้รับโจทย์ให้ดีไซน์ Electronic Driver Board ทดแทนบอร์ดเก่าเนื่องจากบอร์ดอิเล็กทรอนิกส์ที่ใช้ในงานอุตสากรรมชนิดหนึ่ง ได้ยกเลิกการจัดจำหน่าย และทางเราได้ปรับปรุง Circuit Design ให้ทำงานได้ดีขึ้นกว่าเดิม


ตัวอย่างที่ 4 ลูกค้ามีไอเดีย ต้องการ Step Up Voltage โดยที่กำหนดขนาดของ PCB ตามที่ต้องการ

Schematic step up Voltage

Dimension-step-up-Voltage
Dimension step up Voltage

 

 


ตัวอย่างที่ 5 ลูกค้ามีเพียง Schematic

schematic diagram
Schematic ของลูกค้า
Schematic Diagram
“Schematic ของลูกค้า “
test circuit diagram
รวม Schematic Diagram
Interface Test Board
New Design Interface Test Board

 


 

ผลงานอื่นๆ

วงจรไฟฉุกเฉิน
วงจรไฟฉุกเฉิน
บอร์ด avr128
บอร์ด avr128

 

 

ฟรีค่าดีไซน์ ถ้าสั่งทำแผ่น PCB ที่เรา

*** ตามเงื่อนไขที่บริษัทฯกำหนด ***

 

บทความพื้นฐานอิเล็กทรอนิกส์

  • สคีมเมติก ไดอะแกรม (Schematic Diagram)

       สคีมเมติก ไดอะแกรม คือการเขียนวงจรด้วยสัญลักษณ์ที่ลากเส้นต่อถึงกัน ซึ่งเป็นการเขียนวงจรที่นิยมใช้งานมากที่สุด เพราะสามารถเขียนวงจรทั้งระบบได้ ไม่ว่าจะเป็นวงจรเล็ก ๆ จนถึงวงจรขนาดใหญ่ สามารถแสดงความหมายต่าง ๆ ได้ วงจรจะไม่ยุ่ง ยากซับซ้อนใช้พื้นที่ในการเขียนวงจรน้อย การดู การอ่าน และการไล่วงจร ทำได้สะดวก รวดเร็ว

       ช่างอิเล็กทรอนิกส์ที่มีประสบการณ์ มีความรู้ มีความชำนาญ สามารถอ่าน สามารถไล่วงจร และสามารถเขียนวงจร ในรูปแบบของสคีมเมติกไดอะแกรมได้ทุกคน ซึ่งถือว่าวงจรที่เขียนในลักษณะของสคีมเมติกไดอะแกรมนี้เป็นมาตรฐานสากลที่ใช้กัน ทั่วโลก โดยจะเห็นได้จากแผ่นวงจรของอุปกรณ์ทางอิเล็กทรอนิกส์ต่าง ๆ ถูกเขียนออกมาในลักษณะของสคีมเมติกไดอะแกรมทั้งสิ้น

       การศึกษาทางงานเขียนแบบอิเล็กทรอนิกส์ จะต้องศึกษาเพื่อให้เกิดความรู้ ความชำนาญ ในการดู การอ่าน การไล่ วงจร การเขียนวงจร ในลักษณะสคีมเมติกไดอะแกรม ด้วยการฝึกฝนการเขียน การอ่าน และไล่วงจรอยู่บ่อย ๆ จะมีส่วนช่วยให้เกิดความ เคยชินและช่วยให้เกิดความชำนาญขึ้นมาได้

       ต่อไปนี้เป็นตัวอย่าง วงจรแบบไวริงไดอะแกรม เทียบกับ สคีมเมติกไดอะแกรม

วงจรการคายประจุของตัวเก็บประจุ

วงจรตัวเก็บประจุ ประจุแรงดัน วงจรจ่ายแรงดันให้กับตัวต้านทาน

Reference :http://www.elecnet.chandra.ac.th/courses/ELEC1101/less3.html

วงจรต่อหลอดไฟ

Reference : http://electhai.blogspot.com/2013/05/blog-post.html

 


สัญลักษณ์อิเล็กทรอนิกส์

สัญลักษณ์อิเล็กทรอนิกส์สัญลักษณ์อิเล็กทรอนิกส์

 


  • IC (ไอซี) หรือ Integrated Circuit (อินทิเกรตเทด เซอคิท)

คือ วงจรรวม ไอซีเป็นสิ่งประดิษฐ์ที่รวมชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ต่างๆที่ประกอบเป็นวงจรหรือส่วนของวงจรที่มีขนาดเล็กไว้ใน ชิ้นส่วนต่างๆเหล่านี้ได้แก่ ทรานซิสเตอร์ ตัวต้านทาน ไดโอด เป็นต้น ดังนั้นไอซีจึงมีหลายขา ไอซีมีหลายชนิดล้วนแต่หน้าที่การทำงานและจะมีหมายเลขประจำตัว เช่น หมายเลข 555, หมายเลข 741 เป็นต้น วิธีดูตำแหน่งขาของไอซี ให้สังเกตจุดบนขอบตัว IC ขาข้างที่อยู่ใกล้จุดเรียกว่า ขาที่1 แล้วให้นับเรียงต่อกันไปตามลำดับ

ชนิดของ IC

  1. Analog IC (ไอซีแบบอนาล็อก) บางทีเรียกว่า ไอซีเชิงเส้น Linear IC (ลิเนียร์ ไอ ซี) เป็นไอซีที่ทำหน้าที่ในการขยายสัญญาณ และควบคุมแรงดันไฟฟ้าชนิดของไอซี ที่ทำหน้าที่ขยายสัญญาณ เรียกว่า OP Amp (ออปแอมป์) หรือ Operation Amplifier (โอเปอเรชั่น แอมพลิไฟเออะ) เป็นวงจรรวมที่ประกอบขึ้นทรานซิสเตอร์หลายๆตัวรวมอยู่ภายใน IC ตัวเดียว จึงทำให้ไอซีออปแอมป์มีอัตราขยายสูงมาก
  2. Digital IC (ไอซีแบบดิจิตอล) ไอซีดิจิตอลเป็น ไอซีที่ทำหน้าที่ในการสวิทช์ทางดิจิตอล และไมโครโพรเฟสIC 555 หรือในต่างประเทศนิยมเรียกว่า IC 555 Timer (ไอ ซี 555 ไทม์เมอร์) คือ ไอซีที่สร้างขึ้นมาเพื่อความสะดวกในการสร้างความถี่ขึ้นมาใช้งาน นิยมใช้งานอย่างมากเนื่องจากใช้อุปกรณ์ต่อร่วมน้อย และมีความเสถียรอยู่ในระดับหนึ่ง สามารถควบคุมความถี่ได้ด้วย R (อาร์) และ C (ซี) มีขาใช้งานทั้งหมด 8 ขา จำเป็นใช้งาน 7 ขา สามารถทำงานปกติได้ที่แรงดัน 4.5V – 18V

Reference : th.wikipedia.org/wiki/

  • ตัวต้านทาน หรือ รีซิสเตอร์ (อังกฤษ: resistor)

เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่มีคุณสมบัติในการต้านการไหลผ่านของกระแสไฟฟ้า ทำด้วยลวดต้านทานหรือถ่านคาร์บอน เป็นต้น นั่นคือ ถ้าอุปกรณ์นั้นมีความต้านทานมาก กระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านจะน้อยลง เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าชนิดพาสซีฟสองขั้ว ที่สร้างความต่างศักย์ไฟฟ้าคร่อมขั้วทั้งสอง (V) โดยมีสัดส่วนมากน้อยตามปริมาณกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่าน (I) อัตราส่วนระหว่างความต่างศักย์ และปริมาณกระแสไฟฟ้า ก็คือ ค่าความต้านทานทางไฟฟ้า หรือค่าความต้านทานของตัวนำมีหน่วยเป็นโอห์ม ( สัญลักษณ์ : Ω ) เขียนเป็นสมการตามกฏของโอห์ม ดังนี้

   R = V I {\displaystyle R={V \over I}} {\displaystyle R={V \over I}}

ค่าความต้านทานนี้ถูกกำหนดว่าเป็นค่าคงที่สำหรับตัวต้านทานธรรมดาทั่วไปที่ทำงานภายในค่ากำลังงานที่กำหนดของตัวมันเอง

ตัวต้านทานทำหน้าที่ลดการไหลของกระแสและในเวลาเดียวกันก็ทำหน้าที่ลดระดับแรงดันไฟฟ้าภายในวงจรทั่วไป Resistors อาจเป็นแบบค่าความต้านทานคงที่ หรือค่าความต้านทานแปรได้ เช่นที่พบใน ตัวต้านทานแปรตามอุณหภูมิ(อังกฤษ: thermistor), ตัวต้านทานแปรตามแรงดัน(อังกฤษ: varistor),ตัวหรี่ไฟ(อังกฤษ: trimmer), ตัวต้านทานแปรตามแสง(อังกฤษ: photoresistor) และตัวต้านทานปรับด้วยมือ(อังกฤษ: potentiometer)

ตัวต้านทานเป็นชิ้นส่วนธรรมดาของเครือข่ายไฟฟ้าและวงจรอิเล็กทรอนิกส์ และเป็นที่แพร่หลาย ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ตัวต้านทานในทางปฏิบัติจะประกอบด้วยสารประกอบและฟิล์มต่างๆ เช่นเดียวกับ สายไฟต้านทาน (สายไฟที่ทำจากโลหะผสมความต้านทานสูง เช่น นิกเกิล-โครเมี่ยม) Resistors ยังถูกนำไปใช้ในวงจรรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งในอุปกรณ์แอนะล็อก และยังสามารถรวมเข้ากับวงจรไฮบริดและวงจรพิมพ์

ฟังก์ชันทางไฟฟ้าของตัวต้านทานจะถูกกำหนดโดยค่าความต้านทานของมัน ตัวต้านทานเชิงพาณิชย์ทั่วไปถูกผลิตในลำดับที่มากกว่าเก้าขั้นของขนาด เมื่อทำการระบุว่าตัวต้านทานจะถูกใช้ในการออกแบบทางอิเล็กทรอนิกส์

ความแม่นยำที่จำเป็นของความต้านทานอาจต้องให้ความสนใจในการสร้างความอดทนของตัวต้านทานตามการใช้งานเฉพาะของมัน นอกจากนี้ค่าสัมประสิทธิ์อุณหภูมิของความต้านทานยังอาจจะมีความกังวลในการใช้งานบางอย่างที่ต้องการความแม่นยำ

ตัวต้านทานในทางปฏิบัติยังถูกระบุถึงว่ามีระดับพลังงานสูงสุดซึ่งจะต้องเกินกว่าการกระจายความร้อนของตัวต้านทานที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในวงจรเฉพาะ สิ่งนี้เป็นความกังวลหลักในการใช้งานกับอิเล็กทรอนิกส์กำลัง ตัวต้านทานที่มีอัตรากำลังที่สูงกว่าก็จะมีขนาดที่ใหญ่กว่าและอาจต้องใช้ heat sink ในวงจรไฟฟ้าแรงดันสูง

บางครั้งก็ต้องให้ความสนใจกับอัตราแรงดันการทำงานสูงสุดของตัวต้านทาน ถ้าไม่ได้พิจารณาถึงแรงดันไฟฟ้าในการทำงานขั้นต่ำสุดสำหรับตัวต้านทาน ความล้มเหลวอาจก่อให้เกิดการเผาไหม้ของตัวต้านทาน เมื่อกระแสไหลผ่านตัวมัน

ตัวต้านทานในทางปฏิบัติมีค่าการเหนี่ยวนำต่ออนุกรมและค่าการเก็บประจุขนาดเล็กขนานอยู่กับมัน ข้อกำหนดเหล่านี้จะมีความสำคัญในการใช้งานความถี่สูง ในตัวขยายสัญญาณเสียงรบกวนต่ำหรือพรีแอมป์ ลักษณะการรบกวนของตัวต้านทานอาจเป็นประเด็น การเหนี่ยวนำที่ไม่ต้องการ, เสียงรบกวนมากเกินไปและค่าสัมประสิทธิ์อุณหภูมิ เหล่านี้จะขึ้นอยู่กับเทคโนโลยีที่ใช้

ในการผลิตตัวต้านทาน ปกติพวกมันจะไม่ได้ถูกระบุไว้เป็นรายต้วของตัวต้านทานที่ถูกผลิตโดยใช้เทคโนโลยีอย่างใดอย่างหนึ่ง ตระกูลของ ตัวต้านทานเดี่ยวก็มีคุณลักษณะตาม form factor ของมัน นั่นคือ ขนาดของอุปกรณ์และตำแหน่งของขา (หรือขั้วไฟฟ้า) ซึ่งมีความเกี่ยวข้องในการผลิตจริงของวงจรที่นำมันไปใช้

ชนิดของตัวต้านทาน ตัวต้านทานที่ผลิตออกมาในปัจจุบันมีมากมายหลายชนิด ในกรณีที่แบ่งโดยยึดเอาค่าความ ต้านทานเป็นหลักจะแบ่งออกได้เป็น 3 ชนิดคือ

1. ตัวต้านทานแบบค่าคงที่ (Fixed Resistor)

2. ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ (Adjustable Resistor)

3. ตัวต้านทานแบบเปลี่ยนค่าได้ (Variable Resistor)

ตัวต้านทานแบบค่าคงที่ (Fixed Resistor) ตัวต้านทานชนิดค่าคงที่มีหลายประเภท ในหนังสือเล่มนี้จะขอกล่าวประเภทที่มีความนิยม ในการนำมาประกอบใช้ในวงจร ทางด้านอิเล็กทรอนิกส์โดยทั่วไป ดังนี้

1. ตัวต้านทานชนิดคาร์บอนผสม (Carbon Composition)

2. ตัวต้านทานแบบฟิล์มโลหะ ( Metal Film)

3. ตัวต้านทานแบบฟิล์มคาร์บอน ( Carbon Film)

4. ตัวต้านทานแบบไวร์วาวด์ (Wire Wound)

5. ตัวต้านทานแบบแผ่นฟิล์มหนา ( Thick Film Network)

6. ตัวต้านทานแบบแผ่นฟิล์มบาง ( Thin Film Network)

ตัวต้านทานแบบปรับค่าได้ โครงสร้างของตัวต้านทานแบบนี้มีลักษณะคล้ายกับแบบไวร์วาวด์ แต่โดยส่วนใหญ่บริเวณลวดตัวนำ จะไม่เคลือบด้วยสารเซรามิคและมีช่องว่างทำให้มองเห็นเส้นลวดตัวนำ เพื่อทำการลัดเข็มขัดค่อมตัวต้านทาน โดยจะมีขาปรับให้สัมผัสเข้ากับจุดใดจุดหนึ่งบนเส้นลวดของความต้านทาน

ตัวต้านทานแบบนี้ส่วนใหญ่มีค่าความต้านทานต่ำ แต่อัตราทนกำลังวัตต์สูง การปรับค่าความต้านทานค่าใดค่าหนึ่ง สามารถกระทำได้ในช่วงของความต้านทานตัวนั้น ๆ เหมาะกับงาน ที่ต้องการเปลี่ยนแปลงความต้านทานเสมอ ๆ ตัวต้านทานแบบเปลี่ยนค่าได้

ตัวต้านทานแบบเปลี่ยนค่าได้ (Variable Resistor) โครงสร้างภายในทำมาจากคาร์บอน เซรามิค หรือพลาสติกตัวนำ ใช้ในงานที่ต้องการเปลี่ยนค่าความต้านทานบ่อย ๆ เช่นในเครื่องรับวิทยุ, โทรทัศน์ เพื่อปรับลดหรือเพิ่มเสียง, ปรับลดหรือเพิ่มแสงในวงจรหรี่ไฟ

มีอยู่หลายแบบขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เช่นโพเทนชิโอมิเตอร์ (Potentiometer) หรือพอต (Pot)สำหรับชนิด ที่มีแกนเลื่อนค่าความต้านทาน หรือแบบที่มีแกนหมุนเปลี่ยนค่าความต้านทานคือโวลลุ่ม (Volume) เพิ่มหรือลดเสียงมีหลายแบบให้เลือกคือ 1 ชั้น, 2 ชั้น และ 3 ชั้น เป็นต้น ส่วนอีกแบบหนึ่งเป็นแบบที่ไม่มีแกนปรับโดยทั่วไปจะเรียกว่า โวลลุ่มเกือกม้า หรือทิมพอต (Trimpot)

Reference : th.wikipedia.org/wiki/

ลิ้งค์สาระหน้ารู้

แผ่นวงจรพิมพ์คืออะไร

เรื่องหน้ารู้ของวงจรรวม

ทำความรู้จักไดโอดสักนิด

ตัวเก็บประจุทำหน้าที่อะไรบ้าง

Varistor ใช้งานยังไง

ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับอิเล็กทรอนิกส์